วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555



           "พี่ตกคอนตอนปี2เทอม2เลยต้องเรียน6ปี แต่ตอนปี5เทอม2พี่เริ่มทำงานแล้ว 
ไปออกแบบคาสิโนที่กัมพูชา ยังไม่มีใบประกอบวิชาชีพแต่ถึงมีก็ยังเซ็นไม่ได้
เพราะ คาสิโน เป็นอาคารขนาดใหญ่ต้องใช้วุฒิสูงกว่าภาคีสถาปนิกถึงจะเซ็นได้"



           นี้คือส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ที่ ผมได้ไปสัมภาษณ์ พี่กฤษฎา พลทรัพย์ หรือ พี่ต้อม
         รุ่นพี่สถาปัตยลาดกระบังรุ่นที่39 ปัจจุบันทำงานเป็น สถาปนิกอิสระ มีออฟฟิสขนาดกลาง
           เป็นของตัวเอง โดยเช่าพื้นที่ออฟฟิสร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นอีกคนนึงที่มีสายงานใกล้เคียงกัน

พี่ต้อมเล่าเรื่องราวของเค้าให้ฟังว่า ช่วงจบมาใหม่ๆก็ได้มีโอกาสไปทำงานกับรุ่นพี่ที่รู้จัก
ได้ไปทำงานที่กัมพูชา ได้ออกแบบเพราะออฟฟิสที่ไปทำเป็นออฟฟิส consult 
ไม่ค่อยมีคนนออกแบบเท่าไร จึงได้เริ่มเรียนรู้งานจริง เรียนรู้ระบบการทำงานของบริษัท
หลังจากได้ทำงานที่บริษัทนี้เป็นระยะเวลาร่วม 10 ปี ก็ได้ออกมาเปิดบริษัทออกแบบของตัวเอง
แต่ก็ยังทำงานร่วมกับ บริษัทเดิม โดยจะรับหน้าที่ในส่วนออกแบบ

ช่วงที่ออกมาก็ได้รับงานจากลูกค้าหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เข้ามาติดต่องานแต่มีลูกค้า
สายงานประเภทโรงงานเข้ามาเป็นลูกค้าหลัก มีงานส่งให้ตลอดทำให้เริ่มมีความมั่นคงมากขึ้น
ส่งผลให้เริ่มต้องจ้างคนเข้ามาทำงาน เริ่มมีการจัดระเบียบการเงินมากขึ้นเพราะต้องจ่ายเงินเดือน
ความตรงต่อเวลาทั้งต่อตัวเองและลูกค้า กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะหากปลายเดือนไม่มีเงิน
หมุนเวียนเพียงพอเดือนนั้นก็ต้องอดเพื่อให้พนักงานมีเงินเดือนใช้

พี่ต้อมบอกว่าการจะทำออกมาทำงานเอง เปิดบริษัทเองต้องสร้างความแน่นอนให้เกิดขึ้น
ทั้แหล่งเงินทุนที่จะเข้ามา ลูกค้าประจำ ลูกค้าไม่ประจำต้องแบ่งช่วงเวลาให้ลงตัวเพื่อไม่ให้เกิด
ช่วงงานขาด หรืองานรุมเล้า ในแต่ละเดือนมากเกินไป
การที่จบมาแล้วไปเรียนรู้ระบบของบริษัทใหญ่ๆ จะทำให้เราเข้าใจกลไกการทำงานของวิชาชีพนี้
ได้เป็นอย่างดี เพราะระบบพวกนั้น เค้าพัฒนากันมาเป็น สามสิบ สี่สิบ ปี ย่อมมีจุดแข็งมากกว่าที่
เราจะมาสร้างระบบเอง แล้วไปแข่งขันกับบริษัทเหล่านั้น 
เรื่องเงินไม่สำคุญ เพราะจะมากจะน้อยไม่ได้อยุ่ที่อาชีพ แต่อยุ่ทีความถนัดและศักยภาพ
สถาปนิกอิสระ อาจจะได้เงินมากกว่า อาชีพประจำแต่ความแน่นอนก็จะน้อยตามไปด้วย
การขยายแหล่งลูกค้า สร้างปฎิสัมพันธ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญมากหากจะทำงานในสายงานนี้
และการหาโอกาสทางการเงินให้กับตัวเอง ก็เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ทำให้เราขยายขีดจำกัดเราได้สูง
เราอาจจะไม่ต้องลงทุนด้านสถาปัตย์อย่างเดียว แต่การไปลงทุนด้านอื่นเช่น การเช่าที่ ทำหอพัก
หรือการเพิ่มแหล่งเงินทุนในมุมอื่นๆของเรา จะทำให้เรามีความหน้าเชื่อถือและก้าวหน้าในงานออกแบบได้เร็วมากๆ เพราะยิ่งทุนเยอะการรองรับผลที่จะตามมาของงาน ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

เมื่อถามถึงเร่องการเปิดประเทศในอีกสองปีข้างหน้า พี่ต้อมบอกว่า ไม่ใช่เรื่องหน้าเป็นห่วงเพราะ
เรามีกลุ่มลูกค้าในประเทศที่แน่นอนแล้ว ภาษาไทยก็เป็นภาษาทีชาติอื่นแข่งกับเราไม่ได้แน่นอน
การรับรู้เรื่องการออกแบบประเทศเรามีศักยภาพสูงมาก แม้ค่าแรงประเทศอื่นจะถูกกว่าเราแต่ถ้าเข้ามา
อยู่ในประเทศเราจริง ค่าครองชีพก็จะเป็นตัวปรับสมดุลให้เอง เสมือนกับเราไปทำงานที่สิงค์โปร์
แต่พี่ต้อมบอกว่า ประเทศที่น่าจับตามองคือ สิงค์โปร์และมาเลเซีย ที่มีความใกล้เคียงกึ่งๆนำหน้าเรา
ถ้าเราไม่พัฒนาตัวเอง ยกระดับ และแก้ไขจุดด้อยของเรา เราจะตามเค้าไม่ทันแน่นอน

หลักการทำงานของพี่ต้อม คือ ความรู้ ยิ่งเรารู้รอบด้านมากเท่าไรเราก็จะได้เปรียบมากขึ้น
เพราะเจ้าของไม่ได้ต้องการแค่ การออกแบบ จากเราแต่ต้องการ ความเชื่อใจ ในการทำงาน
ทั้งความรู้ด้านโครงสร้าง ด้านกฎหมาย ความตรงต่อเวลา เพื่อให้ความเสียหายในการทำงานน้อยที่สุด

จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เป็นอะไรที่ไม่ต้องสอนแล้ว เพราะเราอยู่กับมันมาตั้งแต่เด็กๆ
สังคมเราสอนมามากพอแล้วทั้งในชีวิตและการเรียน แต่เรื่องการออกแบบสิ้งต่างๆที่ควรไม่ควรนั้น
เป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจเอง เช่น การออกแบบม่านรูด ถึงจะเป็นสถานที่ที่ไม่ดี แต่ยังไงก็ต้องมีคนทำ
สิ่งสำคัญคือต้องออกแบบแล้ว ไม่ทำร้ายใคร ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ก็พอแล้ว

ศักยภาพของคนรุ่นใหม่จะเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคม ตามกระแสของยุค เทคโนโลยีสมัยใหม่
คนแต่ละรุ่นก็จะมีศักยภาพและสไตล์ที่แตกต่างกัน เหมือนกับแฟชั่นการแต่งตัวของคนแต่ละรุ่น
อยู่ที่ว่าคนแต่ละรุ่นจะเอาสิ่งเหล่านี้มาผสมผสานให้เข้ากันและเป็นที่ยอมรับได้ขนาดไหน
พี่ต้อมบอกว่า เด็กลาดกระบังมีศักยภาพมากพอแล้ว แต่ขาดด้านการขายงาน เพราะเราพูดไม่เก่ง
การนำเสนองานจะสู้ที่อื่รไม่ได้ แต่ยังไงเด็กลาดกระบังก็เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอๆ
ซึ่งในอนาคตพพี่ต้อมอยากเห็น การพาตัวเอาเข้าสู่สังคมของเด็กลาดกระบัง ว่าจะทำได้ดีขนาดไหน
ผลงานที่จะออกมาจะสร้างความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ได้หรือไม่
การแสวงหาความรู้ตลอดเวลาจะทำให้เราไปถึงจุดนั้นได้เร็วขึ้น

ช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ พี่ต้อมได้เล่าถึงช่วงที่เรียนให้ฟังว่า สมัยนั้น ยังไม่มีถนนเลย
จะมาเรียนต้องอาศัยรถไฟ แล้วก็ต้องรีบขึ้นรถไฟให้ทันหกโมงเย็นไม่งั้นก็ต้องนอนสตูดิโอ
พอปีสอง มอเตอร์เวย์สร้างเสร็จ รถเมล์1013 เริ่มวิ่งทำให้การไปมาสะดวกขึ้น เริ่มไปเที่ยวซีคอนได้
คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งใหม่ของคณะในยุคนั้น การเริ่้มเขียนแบบผ่านคอมพิวเตอร์เริ่่มเป็นสิ่งใหม่ที่
มาเป็นตัวช่วยในการทำงาน อาจารย์ในยุคนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นรุ่นพี่ที่พึ่งจบไป ทำให้มีความสนิทและ
ใกล้ชิดมาก เพื่อนและรุ่นพี่ก็มีจำนวนไม่มากเท่าตอนนี้ ทำให้การทำงานในสตูดิโอมีความสนุกมาก
กิจกรรมมีจัดทุกอาทิตย์ กีฬาต่างๆ เสียงตามสาย งานดนตรี มีมาให้ผ่อนคลายจากงานหนักตลอด
แต่การสืบค้นข้อมูลในสมัยนั้นก็ไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ ทำให้พี่ต้อมคิดว่าเด็กยุคนี้จะมีโอกาสที่ดีมากขึ้น

ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์ พี่ต้อมได้ให้ข้อคิดไว้ว่า "ผลงานสำคัญกว่า ใบประกาศนียบัตร"








วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

Gothic Revival architecture

Gothic Revival architecture



สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิค
(Neo-Gothic ,Gothic Revival , Victorian architecture)


 

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค 
    
      เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี ค.ศ. 1840 ที่อังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่นิยมและสนใจสถาปัตยกรรมกอธิคใหม่พยายามฟื้นฟูสถาปัตยกรรมยุคกลาง ซึ่งต่างจากสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมันที่เป็นที่นิยมกันในสมัยนั้น ความนิยมนี้เผยแพร่ไปทั่วสหราชอาณาจักร ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา 
       
      สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคได้รับแรงสนับสนุนจากยุคกลางวิทยาซึ่งมีรากฐานมาจากการอยู่รอดของสิ่งที่เป็นกอธิค ทางด้านวรรณคดีสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค  
   
       ที่มาของ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค มีที่มาจาก สถาปัตยกรรมโกธิค

สถาปัตยกรรมกอธิคเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอธิค" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก
สถาปัตยกรรมกอธิคเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างมหาวิหาร, แอบบี และ คริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอธิคที่ใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิคเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก
สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิค เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ350ปี ต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะทางโลกที่เรียกกันว่าโกธิคนานาชาติ (International Gothic) ศิลปะโกธิคนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะยุคเรอเนสซองซ์ ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยโกธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสีจิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะโกธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา 


ลักษณะของสถาปัตยกรรมโกธิค  ในสถาปัตยกรรมโกธิคมีโครงสร้างหลักคือ pointed arch , ribbed vault และ flying buttress



ลักษณะการถ่ายน้ำหนักจาก Ribbed vault ลงสู่ Flying buttressที่ค้ำยันอยู่ด้านข้าง



         
ลักษณะ การวางผังมักเป็นรูปกางเขน ตรงกลางเป็นnave ขนาบด้วยaisleทั้งสองด้าน มักมีหอคอย หลังคาทรงสูง โปร่ง มีการใช้Archยอดแหลม ประดับประดาตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม หน้าต่างมีลักษณะยอดปลายแหลมหรือเป็นรูปวงกลม(Rose window) ประดับกระจกสี(stain glass) 

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค
  • หน้าต่างที่มีลวดลายแหลมตกแต่ง
  • ปล่องไฟที่ถูกจัดกลุ่ม
  • Pinnacles
  • เชิงเทิน และรูป parapets
  • แก้ว Leaded
  • Quatrefoil หน้าต่างและไม้จำพวกถั่วรูป
  • Oriel หน้าต่าง
  • แผนชั้นอสมมาตร


อาคารในประเทศไทยที่ใช้ศิลปะ "ยุคฟื้นฟูกอธิค"

อาคารในประเทศไทยที่ใช้ศิลปะยุค ฟื้นฟูโกธิคส่วนมากจะพบในสมัยรัชกาลที่5

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
 (พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ ๕)
เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413  

  ภายในวัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง
                  ตัวพระอุโบสถภายนอกสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม(มือ) ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค สันนิษฐานว่าเลียนแบบมาจากห้องห้องหนึ่งในพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส … ลวดลายที่บานประตูจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับมุก ซึ่งยกย่องกันว่าเป็น “ศิลปะชิ้นสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์”







วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร 

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เป็นศิลปะแบบโกธิค (Gothic) พระอุโบสถของวัดนั้นสร้างเลียนแบบโบสถ์ในคริสต์ศาสนา โดยภายในประดิษฐาน "พระพุทธนฤมลธรรโมภาส" เป็นพระประธาน ออกแบบโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ โดยลักษณะที่ผสมผสานศิลปะแบบประเพณีนิยม และศิลปะแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายสามัญชน นอกจากนี้ บริเวณฐานชุกชีก็มีลักษณะเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนแบบโบสถ์ และฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าของพระประธานนั้น เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ที่ประดับด้วยกระจกสี




ในปัจจุบันก็มีการนำเอาศิลปะแนว Gothic Revival Style มาผสมผสานกับอาคารสมัยใหม่

ดิ เอ็มไพร์ เพลส

คอนโดมิเนียมสูง 45 ชั้น ออกแบบจากแรงบันดาลใจใน Chicaco Style ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบ Art-Deco & Neo-Gothic Style ที่ให้ความรู้สึก หรูหรา คลาสสิค





วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

Member

 






  นายธนช เหลาหา                 นายมนัส ศรีพิลา            นายยุทธนา นนท์พิทยา        นายสรรเสริญ คำเจริญ
       51020026                              51020059                      51020060                              51020076

The Vertical Aree Condominium

The Sym Condominium

Supalai Condominium

Seedatom Condominium